Brand Identity ตัวตนชัด “ยอดขาย” ชัดกว่า ทำได้ยังไง

Brand Identity

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Brand Identity คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างเช่น ชื่อ สี น้ำเสียง โลโก้ หรือฟอนต์อักษร ซึ่งแบรนด์สร้างขึ้นมาให้เป็นภาพจำ หรือเพื่อทำให้ผู้บริโภคจดจดแบรนด์ได้ง่าย

ทั้งนี้ อัตลักษณ์ของแบรนด์ ไม่เหมือนกับภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือ Brand Image โดยภาพลักษณ์ของแบรนด์ หมายถึง มุมมองที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง

Brand Identity มีความสำคัญอย่างไร

อัตลักษณ์ของแบรนด์ มีความสำคัญต่อทุก ๆ แบรนด์ ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

  1. ช่วยให้แบรนด์โดดเด่นหรือแตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด และแน่นอนว่า แบรนด์ซึ่งโดดเด่น ไม่เหมือนใคร ย่อมน่าสนใจกว่าแบรนด์อื่น ๆ ที่ดูเหมือนกันไปหมด
  2. ช่วยสร้าง บุคลิกภาพของแบรนด์ ( Brand Personality ) หรือความรู้สึกแข็งแรง สดใส ร่าเริง จริงใจ มีความสามารถ หรือซับซ้อน-น่าค้นหา ซึ่งแบรนด์ถ่ายทอดออกมาให้ผู้บริโภครับรู้
  3. ช่วยกำหนดทิศทางในการสื่อสารของแบรนด์ อัตลักษณ์ของแบรนด์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่กำหนดว่าแบรนด์จะสื่อสารกับผู้บริโภคในทิศทางไหน หรือในรูปแบบใด ยิ่งกว่านั้น ในแง่ของดีไซน์ อัตลักษณ์ของแบรนด์ ยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบของอาร์ตเวิร์คที่จะใช้บนสื่อต่าง ๆ รวมถึงบนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าด้วย
  4. ช่วยกระตุ้นยอดขาย อัตลักษณ์ของแบรนด์ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น และการเป็นที่รู้จัก ย่อมส่งผลให้มีคนสนใจแบรนด์และอยากซื้อสินค้าหรือบริการในเวลาต่อมา
  5. ช่วยให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ อัตลักษณ์ของแบรนด์มีส่วนช่วยให้ลูกค้าเชื่อใจและภักดีต่อแบรนด์ อันมีผลให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์นั้น ๆ ซ้ำ หรือไม่ยอมที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์อื่น
  6. https://www.high-endrolex.com/10

Brand Identity Prism คืออะไร เกี่ยวข้องกับ อัตลักษณ์ของแบรนด์อย่างไร

เมื่อพูดถึง อัตลักษณ์ของแบรนด์ จะไม่พูดถึง Prism คงเป็นไปไม่ได้

Prism เป็นแนวคิดด้านการตลาด ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในปี 1986 โดย Jean-Noel Kapferer อาจารย์ด้านทฤษฎีการตลาดชาวฝรั่งเศส เพื่อนำเสนอ 6 แง่มุมที่อัตลักษณ์ของแบรนด์ถูกเสนอ ซึ่งประกอบด้วย

  • Physique หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ หรือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อย่างโลโก้ สีโลโก้ ,สี หรือรูปร่าง โดยลักษณะทางกายภาพของแบรนด์ สามารถบอกได้ว่าแบรนด์นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร เป็นตัวแทนของสิ่งใด หรือเจ้าของแบรนด์อยากให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกต่อแบรนด์อย่างไร
  • Personality หรือบุคลิกภาพของแบรนด์ ตามที่กล่าวถึงไปแล้วข้างบน
  • Culture หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของแบรนด์ รวมถึงคุณค่าซึ่งแบรนด์ให้ความสำคัญและเปรียบเสมือน อัตลักษณ์ของแบรนด์ นั้น ๆ
  • Relationship หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีและความภักดีต่อแบรนด์
  • Reflection หมายถึงภาพสะท้อนของแบรนด์ หรือความเชื่อมโยงระหว่างสินค้า (หรือบริการ) กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งบอกว่าแบรนด์นั้นคือใคร เหมาะกับลูกค้ากลุ่มใด ยกตัวอย่างเช่น การที่แบรนด์ ๆ หนึ่งขายสินค้ารักษ์โลกสะท้อนว่าลูกค้าของแบรนด์ต้องเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
  • Self Image หมายถึง มุมมองที่ลูกค้าเห็นตัวเองเมื่อใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง เช่น การใช้ NIKE หรือ ADIDAS แล้วเห็นว่าตัวเองเป็นคนรักสุขภาพ เป็นต้น 

ทั้งนี้ ถึงจะไม่ใช่ของใหม่ แต่ Prism ก็เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างแบรนด์ ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย

แนวคิดนี้ช่วยให้แบรนด์เห็นภาพอัตลักษณ์ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงอัตลักษณ์ในแต่ละแง่มุมให้สอดคล้องกัน รวมถึงการตรวจดูว่าสิ่งที่แบรนด์นำเสนอหรือแสดงออกมา นั้นสอดคล้องกับ Core Value ของแบรนด์หรือไม่

สร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ ให้ประสบความสำเร็จ

เวลาพูดถึง Brand Identity ที่ประสบความสำเร็จ แบรนด์ดัง ๆ อย่าง Nike, Mcdonald’s, Apple, Google, Disney, Airbnb หรือ Amazon เป็นตัวอย่างที่คนมักยกมาพูดถึงอยู่บ่อย ๆ

แบรนด์เหล่านี้เป็นแบรนด์ที่คนจำนวนมากคุ้นเคย และยังจดจำได้ง่ายท่ามกลางแบรนด์นับไม่ถ้วนในท้องตลาดปัจจุบัน

แม้จะฟังเหมือนไกลตัว แต่คุณเองก็มีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในแง่ของอัตลักษณ์ได้เช่นกัน 

สำหรับวิธีการสร้าง อัตลักษณ์ของแบรนด์ ที่ประสบความสำเร็จนั้น สามารถทำได้โดยเริ่มต้นจาก

  1. ทำความเข้าใจแบรนด์ของตัวเองและตลาด
  2. กำหนดเป้าหมายของธุรกิจ
  3. มองหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 

3 คำแนะนำข้างต้น จะช่วยให้คุณตอบคำตอบที่สำคัญต่อการสร้าง อัตลักษณ์ของแบรนด์ ได้ไม่ว่าในส่วนที่เกี่ยวกับคุณค่าของแบรนด์ จุดเด่นและจุดด้อยของแบรนด์ บุคลิกภาพของแบรนด์ น้ำเสียงของแบรนด์ รวมถึงองค์ประกอบเชิงศิลป์ต่าง ๆ ที่แบรนด์จะนำไปใช้กับโลโก้ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย อีเมล นามบัตร หรือแพ็คเกจของสินค้า และยังมี คำศัพท์เกี่ยวกับ Brand และ Branding อีกมากมายให้ลองศึกษา เพื่อช่วยให้ การสร้างแบรนด์ ประสบความสำเร็จ

บทความอื่น ๆ